บทความ

บทบรรณนาธิการ

บทบรรณาธิการ        กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2518 และได้เริ่มนิยมเล่นกันมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดตั้งเป็นสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนรวม เป็นใจกลางของกีฬาเปตอง รับคำปรึกษา และช่วยเหลือ ในด้านสนามและอุปกรณ์การเล่นกีฬาเปตอง         ต่อมาจึงได้ทำการเปิดคัดตัวเพื่อค้นหานักกีฬาที่มีฝีมือดีเข้ามาเก็บตัวเพื่อติดทีมชาติไปแข่งขั้นในระดับเอเชียในระดับโลกต่อไป โดยนักกีฬาที่มาคัดตัวส่วนใหญ่ก็ผิดหวังไปจากการพ่ายแพ้คนที่เก่งกว่าบางคนก็ท้อแท้ ส่วนบางคนก็มีแรงสู้เพื่อที่จะกลับมาชนะในครั้งต่อไป เปตองมีการแข่งขัน 5 ประเภท ได้แก่ 1 ประเภทชายเดี่ยว – หญิงเดียว เล่นฝั่งล่ะ 3 ลูก 2 ประเภทคู่ชาย – คู่หญิง เล่นฝั่งล่ะ 6 ลูก ใช้คนล่ะ 3 ลูก 3 ประเภททีมชาย – ทีมหญิง 3 คน เล่นฝั่งล่ะ 6 ลูก ใช้คนล่ะ 2 ลูก 4 ประเภทคู่ผสม ชาย 1 คน หญิง 1 คน เล่นฝั่งล่ะ 6 ลูก ใช้คนล่ะ 3 ลูก 5 ประเภทตีทำคะแนนชู๊ตติ้ง ชาย 1 คน หญิง 1 คน ตีเก็บคะแนน 5 ฐาน        ดังนั้น ถ้าเราอยากจะเก่งขึ้นมาไม่อยากที่จะแพ้ใครๆเราก็ต้องขยันซ้อมอย่าได้ขาดซ้อมทุกวันทุกเดือนทุกปี เพื่อที่จะได้ประสบ

วิธีการเล่นเปตอง

รูปภาพ
วีธีการเล่นกีฬาเปตอง 1 เปตองเป็นกีฬาที่เล่นได้ทุกสภาพสนามย้กเว้นพื้นคอนกรีตกับพื้นไม้ละพื้นดินที่มีหญ้าขึ้นสูงดยมีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนด ผู้เล่นทุกทีมต้องเล่นในสนามที่กำหนดให้สำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับ ชาติและนานาชาติสนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร เป็นอย่างน้อย 2 ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่กำหนดให้และทำการเสี่ยงว่าฝ่าย ใดจะเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า 3 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุดถึงลูกเป้า - ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี) -ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร สำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 13- 14 ปี) - ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับเยาวชน (อายุไม่เกิน 15- 17 ปี) - ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร สำหรับผู้ใหญ่ (ไม่จำกัดอายุ) 4 ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูกผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์หรือสิ่งที่เคลื่อนที่อื่น ๆ แล้วหยุด ให้นำมาโยนใหม่โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้งที่ได้กำหนดไว้ 5 ก่อนหรือหลังการโยนลูกเป้า ห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่หรือเคลื่อน

กฎกติกาการเล่นเปตอง

รูปภาพ
กฎกติกาของกีฬาเปตอง จุดเด่นของกีฬาเปตอง 1. เป็นพื้นฐานในการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ลักษณะของการเล่นเป็นการ เสริมสร้างแนวความคิด และสติปัญญาของผู้เล่น 2. ในระหว่างการเล่นร่างกายจะได้รับการบริหารทุกส่วน กล่าวได้ว่าในการเล่นเปตอง 6 เกมส์/วัน จะต้องออกกำลังในการใช้ลูกบลูที่มีน้ำหนัก 680/700 กรัม ถึงประมาณ 200 ครั้ง ก้มขึ้นลงประมารณ 250 ครั้ง เดินไปมาในสนามประมาณ 3 กิโลเมตร 3. การเล่นกีฬาประเภทนี้ง่าย และสะดวก เล่นได้ทุกเวลาทั้งในร่ม และกลางแจ้ง สนามเดิน หญ้า และลูกรัง   อุปกรณ์การเล่นเปตอง 1. ลูกเปตอง (ลูกบูล) เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง ทำด้วยโลหะมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 71-76 ม. มีน้ำหนัก 350-800 กรัม มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนัก และเลขรหัสปรากฎอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน หมายเหตุ : ปัจจุบันประเทศไทยมีลูกเปตองที่ทำด้วย พลาสติกเรียกว่า “ ลูกพลาสตอง ” ผลิต จำหน่าย โดยบริษัท มาราธอน มีขนาด น้ำหนัก มาตรฐาน ใกล้เคียงกับลูกเปตองสามารถใช้เล่นฝึกซ้อม หรือแข่งขันได้ในบางรายการ 2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลมทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติก มีเส้นผ่านศูนย์กลางระห

ความเป็นมาของเปตอง

รูปภาพ
ความเป็นมาของกีฬาเปตอง           กีฬาเปตองได้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ 2518 โดยการริเริ่มของ นายจันทร์ โพยหาญ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกและนำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ให้คนได้รู้จักอย่างเป็นทางการคนแรก                           ต่อมาเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทรบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินที่เขื่อนห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ. 2521 นายจันทร์   ได้นำอุปกรณ์กีฬาเปตองไปแนะนำวิธีการเล่นให้แก่ข้าราชบริพารและพระองค์ทรงโปรดปรานมากทรงรับสั่งว่า   พระองค์เคยเล่นกีฬาประเภทนี้ตั้งแต่พระองค์พระชนมายุ 30 กว่า กีฬาเปตองมีประโยชน์มากได้ทั้งบริหารร่างกายเพื่อให้มีสุขภาพดีและสร้างสรรค์ความสามัคคีในหมู่คณะซึ่งมีประโยชน์มากมายสำหรับคนไทย ขอให้นายจันทร์ โพยหาญ จงทำหน้าที่ต่อไป พระองค์ช่วงส่งเสริมและเผยแพร่ให้อีกทางหนึ่ง                   ดังนั้นในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2527 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมเปตอง ต่อมาเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2530 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมเปตองและโปรวังซาลเป็น   สหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทร